หน้าแรก
โปรแกรมทัวร์
ทัวร์วังเวียง เวียงจันทน์
ทัวร์หลวงพระบาง
ทัวร์ลาวใต้
ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์สิบสองปันนา
รีวิวที่พัก
LAOS
Luangprabang
Vangvieng
Vientiane
Pakxe
Xiang Khoang
VIETNAM
Central Vietname
Northern Vietnam
Southern Vietnam
Travel Blog
THAILAND
LAOS
VIETNAM
CHINA
ชำระเงิน
PASSPORT
Border land
ติดต่อเรา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
ข้อมูลท่องเที่ยวจีน
เพิ่มเติม
หน้าแรก
โปรแกรมทัวร์
ทัวร์วังเวียง เวียงจันทน์
ทัวร์หลวงพระบาง
ทัวร์ลาวใต้
ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์สิบสองปันนา
รีวิวที่พัก
LAOS
Luangprabang
Vangvieng
Vientiane
Pakxe
Xiang Khoang
VIETNAM
Central Vietname
Northern Vietnam
Southern Vietnam
Travel Blog
THAILAND
LAOS
VIETNAM
CHINA
ชำระเงิน
PASSPORT
Border land
ติดต่อเรา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
ข้อมูลท่องเที่ยวจีน
เพิ่มเติม
หน้าแรก
บทความทั้งหมด
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
พระราชวังมัณดาเลย์ (Mandalay Royal Palace)
พระราชวังมัณดาเลย์ (Mandalay Royal Palace)
4295 จำนวนผู้เข้าชม
|
พระราชวังมัณดาเลย์ (
Mandalay Royal Palace)
พระราชวังมัณดาเลย์ (
Mandalay Royal Palace)
ค่าเข้าชม 5 U$ หรือ ซื้อตั๋วชุด 10 U$ สามารถเข้าชมพระราชวัง และวัดต่างๆ ที่สำคัญในมัณดาเลย์ รวมถึงเมืองอมรปุระ และอังวะ มีอายุตั๋ว 5 วัน (ควรเก็บรักษาตั๋วไว้เป็นอย่างดีเพื่อเขาชมสถานที่อื่นต่อ) เป็นคำแนะนำของไกด์ชินโค ซึ่งคุ้มค่าและประหยัดกว่าในกรณีเที่ยวครบทุกแห่ง พระราชวังมัณดาเลย์เดิมนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามินดง ซึ่งย้ายราชธานีมาจากเมืองอมรปุระ ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ของไทย พระราชวังถูกสร้างตามหลักความเชื่อทางโหราศาสตร์และการคำนวณทางดาราศาสตร์ เพื่อหวังตามความเชื่อที่เมืองมัณดาเลย์จะกลับมายิ่งใหญ่จนเป็นศูนย์กลางของจักรวาลในสมัยนั้น บางตำราได้กล่าวถึงพิธีกรรมการก่อสร้างไว้อย่างสยดสยอง คือ ก่อนการสร้างจะมีการฝังมนุษย์ทั้งเป็นถึง 52 คน ตามจุดต่างๆ เช่น ประตูเมืองชั้นนอก กลาง และใน 12 ประตูๆ ละ 3 คน ตามมุมกำแพงทั้ง 12 มุมๆ ละ 1 คน และบริเวณใต้ฐานที่ตั้งพระบัลลังก์อีก 4 คน ตามความเชื่อที่จะคุ้มครองเมืองและพระราชบัลลังก์กษัตริย์ให้ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยความคิดโดยส่วนตัว การกระทำนี้น่ากลายเป็นบาปกรรมที่ทำให้ ราชอาณาจักรและกษัตริย์ต้องล่มสลายอย่างรวดเร็วซะมากกว่า
พอรถถึงเขตกำแพงประตูพระราชวังชั้นนอก ได้รับคำอธิบายว่า พระราชวังนี้ถูกสร้างจำลองขึ้นมาใหม่ จากการถูกทิ้งระเบิดทำลายของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ใช้ พระราชวังนี้เป็นฐานทัพของทหารญี่ปุ่นในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2488 ระเบิดได้สร้างความเสียหายอย่างหนัก มีเพลิงไหม้เผาผลาญพระราชวัง สิ่งก่อสร้าง และข้าวของเครื่องใช้ภายในเกือบทั้งหมดแทบไม่เหลือซาก โชคดีที่สมบัติล้ำค่าบางชิ้นเท่านั้นที่อังกฤษนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองโกลกาต้าของอินเดีย และพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิรต์ ในกรุงลอนดอน ซึ่งภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพขอรับคืนไปเก็บรักษาไว้ในย่างกุ้ง พระราชวังที่เหลือเป็นของแท้ดั้งเดิมเป็นส่วนของกำแพงเมืองชั้นนอกและ คูเมืองเท่านั้น นับว่าเป็นความสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติอีกแห่งหนึ่งในหลายร้อยหลายพันแห่งทั่วโลก จากเงื้อมมือของสงคราม ในปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลพม่าได้สร้างจำลองแบบขึ้นมาใหม่ ตามภาพถ่ายของอังกฤษที่ถ่ายไว้เดิม ให้ได้ใกล้เคียงทั้งขนาดและรูปทรงมากที่สุดของอาคารที่สำคัญ ส่วนบางอาคารจะมีกรย่อส่วนพื้นที่ลงไป เนื่องจากความเหมาะสมในเรื่องงบประมาณ ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นเขตค่ายทหาร ซึ่งมีความเข้มงวดในการเข้าออกและชมสถานที่พอสมควร สำหรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางเข้าประตูทางทิศตะวันออกเท่านั้น ผมถูกกำชับจาก ชินโค อีกครั้งว่า “ห้ามถ่ายรูปทหารและค่ายทหาร” ฟังดูจากสำเนียงแล้วเหมือนคนพม่าจะเกลียดและกลัวทหารกันทุกคน ผมตอบกลับไปว่า “ไม่ต้องห่วง ผมยังอยากกลับบ้านอยู่ (เมืองไทย)” ส่วน ชินโค แซวผมกลับมา “ไหงเมื่อเช้าได้ยิน ผมพูดว่า ชอบพม่าอยากอยู่นานๆ ไง” ผมหัวเราะ “ที่อยากอยู่นานๆ หนะ ไม่ใช่ในคุกนะ” สนุกสนานเฮฮาตลอดทาง
เดิมพระราชวังมัณดาเลย์ มีอาราบริเวณที่กว้างขวางด้วยความยาวกำแพงด้านละประมาณ 3.2 กิโลเมตร ความสูง 8 เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำทั้ง 4 ด้าน กว้าง 70 เมตร ภายในมีจุดน่าสนใจ ดังนี้
- ภายในอาคารพระราชวัง ซึ่งก่อสร้างด้วยไมทั้งหลังทาด้วยสีแดง พระราชวังซึ่งตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลาง มียอดปราสาท 7 ชั้น จั่วทาสีทองเหลืองอร่าม มีความสูง 78 เมตร เพียงแค่แรกเห็น ถึงความ สวยงามของอาคารไม้ ตามเสาและเพดาน ถูกทาด้วยสีทอง ด้านหน้าเป็นส่วนของท้องพระโรงใหญ่ มีพระราชบัลลังก์สิงห์เป็นที่ประทับของรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของพระเจ้ามินดง และพระมเหสีเอก Satkyardavi บริเวณซุ้มประตูตกแต่งวิจิตรบรรจง ด้านข้างมีข้าวของเครื่องใช้ของกษัตริย์ เดินถัดไปด้านในจะแบ่งเป็นห้อง ใช้เป็นที่ออกว่าราชการในกรณีต่างๆ ซึ่งประดิษฐาน พระบัลลังก์รูปสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีที่แตกต่างกันไป
- ภายนอกอาคารพระราชวัง จะมีอาคารเล็กๆ ขนานไปทางขวา ได้แก่ พระตำหนักสำหรับรับรองแขกส่วนพระองค์ อาคารของทหารรักษาพระองค์ เช่น ทหารบก ทหารม้า ทหารธนู และทหารปืนใหญ่ ใกล้กันเป็นโรงเลี้ยงช้างทรง ส่วนด้านซ้าย เป็นส่วนของอาคารสรงน้ำ มีสระน้ำขนาดพอเหมาะหนาอาคาร ถัดมาทางด้านหน้า หอคอยสูงเด่น 33 เมตร มีบันไดวนขึ้นไปได้ เป็นจุดชมวิวและถ่ายภาพ ได้อย่างสวยงาม ด้านหลัง มีวัดเล็กๆ ที่ใช้ปฏิบัติธรรมในส่วนพระองค์ ถัดไปด้านหลัง เป็นตำหนักของพระมเหสี และพระสนม ตั้งเรียงรายหลายหลัง จุดสังเกตบางอาคาร จะมีการสร้างป้อมขนาดเล็กไว้บนยอด บางตำราว่าใช้สำหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่เพื่อไล่นกแร้งไม่ให้มาเกาะหลังคา บางตำราว่าใช้เพื่อรักษาความปลอดภัย เนื่องจากพระราชวัง กว้างใหญ่ มีอาคารอยู่มากมาย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวสิบสองปันนา จิ่งหง ยูนนาน
เมืองมัณดาเลย์ พม่า
วัดชเวนันดอร์ (Shwenandaw Kyaung)
เที่ยวสวนม่านทิ่ง สิบสองปันนา
Powered by
MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด