เมืองมัณดาเลย์ พม่า

4003 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมืองมัณดาเลย์  พม่า

 เมืองมัณดาเลย์ 


               
    เมืองมัณดาเลย์  เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากย่างกุ้ง ซึ่งเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายที่ถูกสถาปนาเมืองโดยระบบกษัตริย์ ด้วยความรุ่งเรืองในระยะเวลาไม่นาน เพียงประมาณ 28 ปี ก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่ได้ทิ้งร่องรอยแห่งอารยธรรม โบราณวัตถุและโบราณสถานที่มีค่าตกทอดมา 100 กว่าปี แค่คนรุ่งหลังในปัจจุบัน ด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของเมืองเริ่มต้นขึ้น ในสมัย ปี พ.ศ. 2400 ในสมัยของ พระเจ้ามินดง (Mindon Min) แห่งราชวงศ์ คองบอง ได้ย้ายราชธานีจาก      อมรปุระมาสร้างเมืองใหม่ที่มัณดาเลย์ ด้วยหลายเหตุผลประกอบกัน จากการรุกคืบเข้าของจักรวรรดิอังกฤษ ทำให้พม่าเริ่มเสียดินแดนมากขึ้นเรื่อยๆ ความเสียเปรียบด้านชัยภูมิ กับกองทัพเรืออังกฤษที่ยิ่งใหญ่ทันสมัยในตอนนั้น สามารถนำเรือรบกลไฟขนาดใหญ่ติดตั้งปืนใหญ่ที่มีรัศมีการยิงเข้าไปได้ถึงภายในตัวเมืองหลวงเกาที่อยู่ริมแม่น้ำอิระวดีได้สะดวก กับความเชื่อในเรื่องโชคลางและโหราศาสตร์ จากด้วยอมรปุระและอังวะเคยเป็นราชธานีที่เป็นเมืองอัปมงคลกับการถูกรุกรานจากฝ่ายศัตรูจนเสียเมืองมาแล้ว ถึง 2 ครั้ง ภายในราชสำนักมีความวุ่นวายกับการแย่งชิงราชบัลลังก์จนเกิดลอบปลงพระชนม์กษัตริย์มาหลายพระองค์ จนทำให้ พระเจ้ามินดง ทรงเลือกเมืองมัณดาเลย์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของประเทศ ที่เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวบะม่าร์ในอดีต ตามคำชี้แนะของโหราจารย์ประจำพระองค์ ซึ่งหวังว่า การสร้างเมืองที่ยิ่งใหญ่กับทำนุบำรุงพระศาสนา และสืบต่อวัฒนธรรมในอดีต จะทำให้ดินแดนพม่าในลุ่มอิระวดีกลับมายิ่งใหญ่และรุ่งโรจน์อีกครั้ง จนทำนายถึงว่า เมืองมัณดาเลย์จะยิ่งใหญ่จนเป็นศูนย์กลางของโลกในอนาคต แต่ก็หาเป็นเช่นนั้น ต่อมาในสมัยพระเจ้าธีปอ (Thibaw) ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2421 บ้านเมืองมีความวุ่นวายอย่างหนักกับการอ่อนแอในด้านการบริหารบ้านเมืองของพระองค์เอง จากข้อสรุปของนักประวัติศาสตร์ต่างชาติ หลายท่านได้ให้เหตุผลถึงการล่มสลายของราชวงศ์ไว้ จากการ   ชิงดีชิงเด่นกันในสมัยพระเจ้ามินดง ที่ทรงมีพระชายาหลายองค์ ครั้นแต่งตั้งพระโอรสพระองค์ใดเป็น  รัชทายาท ก็จะถูกลอบปลงพระชนม์จากพระโอรสและพระชายาที่มักใหญ่ใฝ่สูง จนไม่กล้าแต่งตั้งผู้ใดเป็นรัชทายาท จนเป็นเหตุวุ่นวายในราชสำนักมัณดาเลย์ มาถึงในปลายรัชสมัยของพระเจ้ามินดงประชวรหนักก่อนทรงสวรรคต พระนางฉินบูมาชิน (Hsinbyumashin) หรือบางตำราเรียกพระนางอเลนันดอ      (Alenandaw) พระมเหสี ซึ่งเป็นพระมารดาของพระนางศุภยลัย (Supayalat) ได้เข้ามามีอำนาจเบ็ดเสร็จในราชการบ้านเมือง ทรงแต่งตั้งพระเจ้าธีปอ พระโอรสในพระชายาของพระเจ้ามินดงพระองค์หนึ่ง ขึ้นเป็นกษัตริย์และพระนางศุภยลัย ทรงเป็นพระราชินีตามที่พระนางฉินบูมาชินได้ทรงวางแผนไว้ ในรัชสมัยของพระเจ้าธีปอนี้เองตามความเห็นใน “หนังสือพม่าเสียเมือง” ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ได้กล่าวถึงความวุ่นวายในราชสำนัก ซึ่งเกิดจาก พระเจ้าธีปอ ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่รักความสงบเรียบง่ายไม่มี อำนาจทางการบริหารอย่างแท้จริง กับ พระนางศุภยลัย พระมเหสีที่มีนิสัยมักใหญ่ใฝ่สูง คิดแต่จะแก้แค้นและกำจัด ขุนนาง อำมาตย์ และผู้ใดก็ตามที่ตั้งตนจะเป็นศัตรูกับพระองค์ด้วยการส่งคนไปลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง จนบ้านเมืองอ่อนแอ ระส่ำระสาย เป็นเหตุให้ต้องพ่ายแพ้ศึกใหญ่กับอังกฤษ จนกองเรือทหารสามารถเข้ามาถึงพระนครได้ ทำให้พม่าเสียดินแดนที่เหลือทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2428 ส่วนพระเจ้าธีปอ และพระนางศุภยลัย พร้อมด้วยพระธิดาแบเบาะ 2 พระองค์ ได้ถูกเนรเทศ โดยอังกฤษใช้กองกำลังทหารถึง 11,000 นาย ในการป้องกันเหตุจนถึงท่าเรือ ไปพำนักที่เมืองชายฝั่งทะเล   รัตนคีรี ใกล้กับเมืองบอมเบย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชตรา (Maharashtra) ประเทศอินเดีย ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอินเดียทรงไม่สุขสบายอย่างเช่นพระราชวังมากนัก กับเงินของทางการอังกฤษที่ให้ใช้จ่ายเดือนละ 2,000 รูปี ในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2430 พระนางศุภยลัย ทรงให้กำเนิดพระธิดาองค์สุดท้องพระเจ้าธีปอ ทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2459 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว พระชนมายุ 58 ชันษา พระศพถูกฝังที่เมืองรัตนคีรี อีก 3 ปีต่อมาอังกฤษได้ส่ง พระนางศุภยลัยและพระธิดากลับพม่า โดยพำนักที่กรุงย่างกุ้ง และทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 68 ชันษา พระศพถูกฝังในสวนหลวงใกล้พระเจดีย์ชเวดากอง เป็นการปิดฉากสิ้นสุดระบบกษัตริย์ที่ยาวนานมากว่า 2,000 ปี อย่างที่ไม่มีวันหวนกลับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปัจจุบัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้