27271 จำนวนผู้เข้าชม |
แขวงไซยะบูลิ/ไซยะบุรี (Sainyabuli Province)
ภูมิประเทศทั่วไปของแขวงไซยะบูลิเป็นป่าบนภูเขาและที่ราบสูง ทางตะวันตกมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบเป็นที่ตั้งป่าสงวนแห่งชาติน้ำพูน ทางตะวันออกจรดแม่น้ำโขง มีภูเขาที่มองไกลๆ เหมือนช้างกำลังเดินจึงได้ชื่อว่าผาช้างทางตอนใต้เป็นพื้นที่ห่างไกลริมชายแดน มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น นาข่า บ้านคำ ตาดเหือง ฯลฯ แต่ยังไม่มีถนนเข้าถึง น้ำตกที่มีถนนเข้าถึงสะดวกสบาย อยู่ใกล้ตัวเมืองและเป็นที่นิยมของชาวบ้านคือ ตาดแจว สูง 30 เมตร อยู่ห่างจากท่าเดื่อประมาณ 1 กิโลเมตร ไซยะบูลิมีเขตแดนติดกับไทยยาว 645 กิโลเมตร ชาวพื้นเมือง อาทิ ไทดำ ไทลื้อ ขมุ ขฉิ่น กรี อาข่าและมลาบรี จึงอพยพข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ เป็นแขวงที่มีการทำไม้ซุงมากจึ้งมีช้างงานมากที่สุดในประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยว
ไซยะบูลิ (Sainyabuli)
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฮุง เป็นถิ่นอยู่อาศัยและการค้าของชาวเมี่ยนไซยะบูลิมีการค้าทั้งปกปิดและเปิดเผยกับไทยจำนวนมาก เมืองนี้จึงมีฐานะดีสังเกตได้จากจำนวนรถยนต์และมอเตอร์ไซต์
วัดสีบุญเฮือง / ศรีบุญเรือง
มีพระพุทธรูปศิลาอ้างกันว่าอายุถึง 500 ปีและวัดสีสะหว่างวงศ์/ศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเจ้าชีวิตศรีสว่างวงศ์โปรดให้สร้างขึ้นทั้งสองแห่งเป็นวัดที่น่าสนใจในเมือง
การเดินทาง
- เครื่องบิน Y-12 ของสายการบินลาว บินตรงไป-กลับไซยะบูลิ-เวียงจันทน์ ทุกวันสอบถามได้ที่สายการบินลาว สำนักงานไซยะบูลิ โทร. 74-412 059
- มีรถบริหารตลอดทั้งวันจากไซยะบูลิถึงท่าเดื่อ ท่าเรือเฟอร์รี่ข้มแม่น้ำโขงจากไซยะบูลืไปยังปากขอน ท่าเรือข้ามฟากฝั่งเมืองหลวงพระบาง
- ใต้สุดของแขวงมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำเหืองเชื่อมระหว่างบ้านแก่นท้าว ไซยะบูลิ กับบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ผู้ที่จะเดินทางผ่านด่านนี้ต้องมีพาสปอร์ตและสามารถนำรถข้ามไปได้
ที่พักและอาหารการกิน
โรงแรมสายบุรีใหม่ โทร. 74-211 116
โรงแรมผาช้าง โทร. 74-211 035
เฮือนพักหงวิไล โทร. 74-211 068
ห้องอาหารสายน้ำฮุง โทร. 74-412 109
ปากลาย (Pak Lai)
ชุมชนเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำที่สงบเงียบน่าอยู่ มีอาคารเก่าแบบอาณานิคมฝรั่งเศสปะปนอยู่กับบ้านเรือนไม้ของชาวบ้าน ปากลายเป็นเมืองท่าแวะพักเรือโดยสารที่สำคัญระหว่างเส้นทางเดินเรือห้วยซาย-เวียงจันทน์ มีที่พักแบบเกสต์เฮาส์และร้านอาหารหลายแห่ง
เมืองเงิน (Muang Ngoen)
หมู่บ้านชนบททางตอนเหนือสุดของแขวงติดกับชายแดนไทยเป็นหมู่บ้านชาวไทลื้อที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมท้องถิ่นเอไว้อย่างเคร่งครัด บ้านเรือนยกพื้น หลังคามีชายยาวเกือบจรดพื้น แบบเดียวกับที่เมืองสิงและสิบสองปันนาของจีน ชาวเมืองเงินนิยมเลี้ยงช้างไว้ใช้งานทั้งลากซุงและทำไร่