หน้าแรก
โปรแกรมทัวร์
ทัวร์วังเวียง เวียงจันทน์
ทัวร์หลวงพระบาง
ทัวร์ลาวใต้
ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์สิบสองปันนา
รีวิวที่พัก
LAOS
Luangprabang
Vangvieng
Vientiane
Pakxe
Xiang Khoang
VIETNAM
Central Vietname
Northern Vietnam
Southern Vietnam
Travel Blog
THAILAND
LAOS
VIETNAM
CHINA
ชำระเงิน
PASSPORT
Border land
ติดต่อเรา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
ข้อมูลท่องเที่ยวจีน
เพิ่มเติม
หน้าแรก
โปรแกรมทัวร์
ทัวร์วังเวียง เวียงจันทน์
ทัวร์หลวงพระบาง
ทัวร์ลาวใต้
ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์สิบสองปันนา
รีวิวที่พัก
LAOS
Luangprabang
Vangvieng
Vientiane
Pakxe
Xiang Khoang
VIETNAM
Central Vietname
Northern Vietnam
Southern Vietnam
Travel Blog
THAILAND
LAOS
VIETNAM
CHINA
ชำระเงิน
PASSPORT
Border land
ติดต่อเรา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
ข้อมูลท่องเที่ยวจีน
เพิ่มเติม
หน้าแรก
บทความทั้งหมด
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
9703 จำนวนผู้เข้าชม
|
ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เมืองหลวง คือ
เวียงจันทน์
ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ
236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.8 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
คำค้นหา >>
ทัวร์หลวงพระบาง
,
เที่ยวหลวงพระบาง
,
เที่ยวลาวใต้
,
เที่ยวลาว
ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว
ประเทศลาว หรือชื่อทางการว่า
“สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” (Lao People's Democratic Republic) เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ราว
236,800 ตารางกิโลเมตร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศจีนและพม่า ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย มีภาษาทางการ คือ ภาษาลาว มีประชากรกว่า 6.8 ล้านคน ประกอบด้วยชนเชื้อชาติต่างๆ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย
ลาวลุ่ม
คือ ลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ได้แก่ คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาว หรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ
68 และ อาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
ลาวเถิง
คือ ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
ประชาชนกลุ่มนี้มีร้อยละ 22
ลาวสูง
คือ ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 9
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง นอกจากนี้ยังมีชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์ และอิสลาม แต่มีจำนวนค่อนข้างน้อย โดยศาสนาคริสต์จะนับถือในกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้และจามในเวียงจันทน์
ปัจจุบัน ประเทศลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรการเมืองสูงสุดในการบริหารประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่
2
ธันวาคม พ.ศ.
2518
ประธานประเทศ หรือตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง
5
ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือนายทองสิง ทำมะวง
ประเทศลาวได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น
16
แขวง และมีนครหลวงเวียงจันทร์เป็นเขตการปกครองพิเศษ ภายใน
16
แขวงนั้น จะประกอบด้วยเมืองหลายเมือง ซึ่งจะมีเมืองเอก
1
เมือง ประจำแขวงนั้นๆ
มีดั่งนี้
-
นครหลวงเวียงจันทร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมีการปกครองแบบเขตพิเศษ
-แขวงเวียงจันทร์ เมืองหลวง คือโพนโฮง
-แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวง คือ หลวงพระบาง
-แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวง คือ หลวงน้ำทา
-แขวงอุดมไซ เมืองหลวง คือ เมืองไซ
-แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวง คือ ห้วยทราย
-แขวงพงสาลี เมืองหลวง คือ พงสาลี
-แขวงหัวพัน เมืองหลวง คือ ซำเหนือ
-แขวงเชียงขวาง เมืองหลวง คือ โพนสะหวัน
-แขวงไซยะบุรี เมืองหลวง คือ เมืองไซยะบุรี
-แขวงบอลิคำไซ เมืองหลวง คือ เมืองปากซัน
-แขวงคำม่วน เมืองหลวง คือเมืองท่าแขก
-แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวง คือ เมืองไกสอน พรหมวิหาร
-แขวงสาละวัน เมืองหลวง คือ เมืองสาละวัน
-แขวงเซกอง เมืองหลวง คือ เมืองละมาม
-แขวงจำปาสัก เมืองหลวง คือ เมืองปากเซ
-แขวงอัดตะปือ เมืองหลวง คือ เมืองสามักคีไซ
(
หมายเหตุ –
แขวง
หมายถึง จังหวัด ส่วน
เมือง
หมายถึง อำเภอ
)
ทัวร์ลาวใต้
คำขวัญประจำประเทศลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว
สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร
ธงชาติลาว
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 แถบตามแนวนอน แถบด้านบนและด้านล่างสุดเป็นสีแดง
แถบตรงกลางเป็นสีน้ำเงิน มีวงกลมสีขาวอยู่กลางบนแถบสีน้ำเงิน
สีแดง หมายถึง สีเลือดแห่งการเสียสละ การพลีชีพเพื่อชาติ
สีน้ำเงิน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญมั่งคั่ง
สีขาว หมายถึง ดวงจันทร์ เปรียบเสมือนน้ำใจของคนลาวที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศลาว
เป็นประเทศมรสุมเขตร้อน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในดินแดนที่มีชื่อเรียกกันว่า
“ดินแดนสุวรรณภูมิ” (คาบสมุทรอินโดจีน) ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือ และลองติจูด 100-108 องศา ไม่มีทางออกสู่ทะเล
อาณาเขตประเทศลาว
ทิศเหนือ
ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศใต้
ติดกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก
ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทิศตะวันตก
ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า)
ทิศใต้และทิศตะวันตก
ติดกับ ประเทศไทย
ประเทศลาว
มีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศมีความยาว 500 กิโลเมตร ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศมีความยาว 150 กิโลเมตร
เขตแดนไทย -
ลาว
ประเทศไทยมีเส้นแบ่งเขตแดนติดต่อกับ สปป.
ลาว
ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย, พะเยา, น่าน, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เลย, หนองคาย, นครพนม, อำนาจเจริญ, มุกดาหารและอุบลราชธานี และ 9 แขวงของ
ลาว
ได้แก่ แขวงบ่อแก้ว, แขวงไซยะบุรี, แขวงเวียงจันทน์, นครหลวงเวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ, แขวงคำม่วน, แขวงสะหวันนะเขต, แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก
ภูมิประเทศลาว
ลาว
เป็นประเทศที่มีขุนเขาสลับซับซ้อน พื้นที่กว่าร้อยละ 90 มีความสูงมากกว่า 180 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ประมาณ 70% เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาที่สูงที่สุดใน
ประเทศลาว
คือ “ภูเบี้ย” ตั้งอยู่ในแขวงเชียงขวาง ทางภาคเหนือของประเทศ มีความสูงทั้งสิ้น 2,820 เมตรจากระดับน้ำทะเลและยังพบภาชนะ ยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปทรงคล้ายไห กระจายอยู่ทั่วไป เรียกว่า “ทุ่งไหหิน” มีเทือกเขาอันหนำพาดผ่านจากตะวันตกเฉียงเหนือ ลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ยาวราวกึ่งหนึ่งของประเทศและเป็นพรมแดนกั้น
ประเทศลาว
กับประเทศเวียดนามเนื่องจากสภาพ ภูมิประเทศเป็นป่าไม้และภูเขาสูงจึงพื้นที่เพาะปลูกเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูมิอากาศ
สปป.
ลาว
มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้จึงทำให้แบ่งสภาพภูมิอากาศ ออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – ปลายเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน – ปลายเดือนกันยายน
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์
อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์
25 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เมษายน)อุณหภูมิเฉลี่ยที่
หลวงพระบาง
20 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 32-34 องศาเซลเซียส (เมษายน)
ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยบนภูเขาทางภาคเหนือ 10-15 องศาเซลเซียส ผ
เครื่องแต่งกาย
ชาว
ลาว
ยังเคร่งครัดในวัฒนธรรมอันดีงามของการแต่งกาย โดยเฉพาะเมื่อจะเข้าไปในเขตวัดหรือสถานที่ราชการ
ผู้หญิงลาว
จะต้องนุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อแบบสุภาพ ส่วนผู้ชาย
ลาว
ก็ต้องนุ่งกางเกงขายาวเสื้อแบบสุภาพเช่นกัน เครื่องแบบนักเรียน-นักศึกษาและข้าราชการของผู้หญิงจะนุ่งเป็นผ้าซิ่นทั้งหมด เมื่อก่อนนี้ยังมีกฏ-ระเบียบ ห้ามผู้หญิงย้อมผมเป็นสีต่างๆ แต่ในปัจจุบันกฏที่ว่าค่อนข้างจะผ่อนผันไปมากแล้ว
ด้านเศรษฐกิจ
ลาวมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค
ระบบการเงินและการธนาคาร
สกุลเงินหลักของ
ลาว
คือ “กีบ
” ลักษณะจะเป็นธนบัตรทั้งหมด
ปัจจุบันธนบัตรเงินกีบจะมีตั้งแต่ฉบับราคา 500 กีบ -100,000 กีบ ไม่มีเงินเหรียญกษาปณ์ เงินกีบสามารถใช้ได้ทั่วไปใน
ประเทศลาว
นอกจากนี้ตามเมืองใหญ่ๆ และ
เมืองท่องเที่ยว
เช่น นครหลวงเวียงจันทน์
เมืองวังเวียง
หลวงพระบาง
สะหวันนะเขต ฯลฯ สามารถใช้เงินบาทไทยและเงินดอลล่าร์สหรัฐชำระค่าบริการต่างๆ ได้ ส่วนเครดิตการ์ด สามารถใช้ได้ตามโรงแรม,ร้านอาหาร,บริษัท
ท่องเที่ยว
ใหญ่ๆ โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3-5 การแลกเปลี่ยนเงินตรา สามารถแลกได้ตามเคาท์เตอร์แลกเงินในธนาคาร หรือจุดรับแลกเปลี่ยนเงินตราตาม
แหล่งท่องเที่ยว
ต่างๆ
เวลา
เร็วกว่าเวลามาตราฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง (ใช้เวลาเดียวกันกับประเทศไทย)
ไฟฟ้า
220 โวลต์ วงจรกระแสสลับ (เช่นเดียวกับประเทศไทย) ปลั๊กไฟเป็นแบบขาแบนและขากลม 2 ขา เกิดไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง แม้ในนครหลวงเวียงจันทน์หรือเมืองท่องเที่ยวอย่าง
หลวงพระบาง
ในชนบทที่ห่างไกลบางแห่งยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ระบบการศึกษา
สปป.
ลาว
กำหนดให้นักเรียนเรียนชั้นประถมศึกษา 5 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี รวมระยะเวลาศึกษา 12 ปี เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาแล้ว นักเรียนอาจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเทคนิค ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย 5 แห่ง คือ
-มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ดงโดก) ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์
-มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งจากการแยกคณะด้านการแพทย์ เช่น แพทยศาสตร์, ทันตแพทย์ศาสตร์, เภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ)
-มหาวิทยาลัยสุพานุวง แขวง
หลวงพระบาง
สำหรับรองรับนักเรียนจากแขวงทางภาคเหนือ
-มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต
-มหาวิทยาลัยจำปาสัก สำหรับรองรับนักเรียนจากแขวงทางภาคใต้ การเข้ามหาวิทยาลัยจะใช้ระบบการสอบคัดเลือก
สำหรับสายวิชาชีพ นักเรียนต้องจบชั้นมัธยมปลายจึงจะสมัครเรียนได้ แบ่งเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นกลาง ระยะเวลาศึกษา 2 ปี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
สปป.
ลาว
มีวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 22 แห่ง เช่น
วิทยาลัยเทคนิคสรรพวิชา วิทยาเทคนิคปากป่าสัก โรงเรียนเทคนิคลาว-เยอรมัน นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยที่สอนเฉพาะทาง เช่น วิทยาลัยการช่าง วิทยาลัยช่างครู วิทยาลัยกฎหมาย รวมทั้งมีสถาบันการศึกษาของเอกชนจำนวนหนึ่ง เช่น วิทยาลัยลาว-อเมริกัน วิทยาลัยธุรกิจลาว-สิงคโปร์ และสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเปิดสอนด้านการพยาบาลและคอมพิวเตอร์
การคมนาคมทางถนน
ทางหลวงหมายเลข 1
เริ่มจากชายแดนสปป.
ลาว
ที่ติดกับจีนแขวงพงสาลี ผ่านแขวงพงสาลี หลวงน้ำทา อุดมไซ
หลวงพระบาง
และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 6 ที่แขวงหัวพัน
ทางหลวงหมายเลข 2
เชื่อมสปป.
ลาว
-เวียดนาม ต่อจากทางหลวงหมายเลข 3 ที่แขวงหลวงน้ำทา ผ่านแขวงพงสาลี จากนั้นเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 6 ของเวียดนามที่เมืองเดียนเบียนฟู มุ่งสู่ฮานอยได้
ทางหลวงหมายเลข
3
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Northern Economic Corridor Project เพื่อเชื่อมโยงไทย-
ลาว
-จีน จากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้าสู่สปป.
ลาว
ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
(รัฐบาลลาวกำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสัญจรตามทางหลวงหมายเลข 3) ผ่านหลวงน้ำทา สู่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน รวมระยะทางจากเชียงรายสู่คุนหมิงประมาณ 1,200 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่ผ่านสปป.
ลาว
มีระยะทาง 228 กิโลเมตร
ทางหลวงหมายเลข 4
เริ่มตั้งแต่เมืองแก่นท้าว แขวงไซยะบุรี ซึ่งอยู่ตรงข้ามอ.ท่าลี่ จังหวัดเลย โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-
ลาว
ข้ามแม่น้ำเหืองเชื่อมทั้งสองฝั่ง ทางหลวงหมายเลข 4 ตัดผ่านแขวงไซยะบุรีไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 13 เหนือที่ เมืองเชียงเงิน
แขวงหลวงพระบาง
เส้นทางนี้ต้องผ่านแม่น้ำโขงซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสะพาน แต่สปป.
ลาว
กำลังจะก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อม
แขวงหลวงพระบาง
กับแขวงไซยะบุรี (ปากคอน-ท่าเดื่อ) ความยาว 620 เมตร กว้าง 10.5 เมตร และปรับปรุงถนนจากสะพานไปเมืองเชียงเงิน
แขวงหลวงพระบาง
ระยะทาง 58 กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางเส้นทางนี้จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งระหว่างจังหวัดเลยกับแขวงไซยะบุรีและ
แขวงหลวงพระบาง
ทางหลวงหมายเลข 7
เชื่อมต่อถนนหมายเลข 13 กับถนนที่จะไปเมืองวินห์ ของประเทศเวียดนาม ยาว 270 กิโลเมตร ลาดยางแล้วประมาณ 170 กิโลเมตร
ทางหลวงหมายเลข 8
แยกจากถนนหมายเลข 13 บริเวณตอนกลางของประเทศ เชื่อมต่อจากประเทศไทยสู่สปป.
ลาว
ที่เมืองปากกระดิ่ง แขวงบอลิคำไซ และเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 1 ของเวียดนามที่มุ่งสู่เมืองวินห์ และฮาติง เมื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-
ลาว
แห่งที่ 3 ข้ามแม่น้ำโขงแล้วเสร็จ (จังหวัดนครพนม-แขวงคำม่วน) การเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยไปเวียดนามสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 8 ได้สะดวกขึ้น
ทางหลวงหมายเลข 9
แยกจากถนนหมายเลข 13 ที่แขวงสะหวันนะเขต เชื่อมจากจังหวัดมุกดาหารของไทยผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-
ลาว
แห่งที่ 2 มุ่งสู่เวียดนามที่ด่านลาวบาว เป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าจากไทยสู่สปป.ลาวและเวียดนาม
ทางหลวงหมายเลข 10
เชื่อมต่อกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสักและเชื่อต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีที่ด่านช่องเม็ก
ทางหลวงหมายเลข 12
เชื่อมทางหลวงหมายเลข 13 ที่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วนเชื่อมกับจังหวัดนครพนมของไทย ซึ่งกำลัง ก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 และเชื่อมต่อกับประเทศเวียดนามที่ด่านนาเพ้า-จาลอ
ทางหลวงหมายเลข 13
เชื่อมทางตอนใต้และเหนือของสปป.
ลาว
เริ่มจากชายแดนติดประเทศกัมพูชา เลาะเลียบตามแม่น้ำโขงถึงนครหลวงเวียงจันทน์และผ่านไปยังแขวงอุดมไซ เชื่อมกับถนนหมายเลข 7, 8 และ 9
ทางหลวงหมายเลข 18
แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ที่แขวงจำปาสัก ตัดผ่านแขวงอัตตะปือ ไปออกชายแดน ประเทศเวียดนามที่ด่านพูเกือ
การคมนาคมทางรถไฟ
สปป.
ลาว
มีทางรถไฟสายแรกที่เชื่อมจากจังหวัดหนองคายของไทยไปยังสถานีท่านาแล้ง บ้านโคกโพสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 รัฐบาล
ลาว
มีโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ 2 จากสถานีท่านาแล้งไปยังสถานีเวียงจันทน์ เขตบ้านคำสว่าง (หลังสนามกีฬาซีเกมส์) ระยะทาง 9 กิโลเมตร ในเร็วๆ นี้อีกด้วย
การคมนาคมทางน้ำ
สปป.
ลาว
มีแม่น้ำโขงไหลผ่านตลอดทั้งประเทศ ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้รวม 1,835 กิโลเมตร
แต่มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น เกาะแก่งและระดับน้ำ ทำให้มีระยะทางที่ใช้ในการขนส่งเพียง 875 กิโลเมตร
เดินเรือได้สะดวกเฉพาะฤดูน้ำหลากในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ซึ่งสามารถใช้เรือขนาดใหญ่ขนส่งและลำเลียงสินค้าได้ถึงลำละ 120-150 ตันส่วนช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ที่น้ำน้อยต้องใช้เรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าได้เพียงประมาณลำละ 40-60 ตัน
การคมนาคมทางอากาศ
สนามบินหลักของ
ประเทศลาว
คือ สนามบินวัดไตที่นครหลวงเวียงจันทน์ มีพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร
รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 1.5 ล้านคน ปัจจุบันมีสายการบินที่ให้บริการบินตรงจากนครหลวงเวียงจันทน์สู่
8 เมืองในต่างประเทศ คือ กรุงเทพ ฮานอย โฮจิมินห์ พนมเปญ เสียมราฐ คุนหมิง หนานหนิงและกัวลาลัมเปอร์รัฐบาล
ลาว
วางแผนจะสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ที่กิโลเมตรที่ 21 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์ขนาด 24 ตารางกิโลเมตร โดยกำหนดศึกษาความเป็นไปได้ภายในปี 2558
สนามบินสำคัญอื่นๆ ในสปป.ลาว คือ
สนามบินหลวงพระบาง
ซึ่งขณะนี้รัฐบาลจีนได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ มีรันเวย์ยาว 3,000เมตร สามารถรองรับเครื่องโบอิ้ง 4 ลำ และ ATR 7 ลำได้พร้อมกัน คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2556
สนามบินปากเซ
มีรันเวย์ยาว 2,400 เมตร กว้าง 45 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 และแอร์บัส A 320
สนามบินสะหวันนะเขต
ส่วนเมืองอื่นๆ ที่มีสนามบินสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ คือ ห้วยทราย หลวงน้ำทา อุดมไซ พงสาลี เชียงขวาง และไซยะบุรี
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรป่าไม้
มีป่าไม้ร้อยละ
47 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศไม้เศรษฐกิจสำคัญ เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้สน ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น ลาวจัดเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียประกอบด้วยป่าไม้ร้อยละ 47 ของพื้นที่
ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว (clays) Dolomite Limestone Rock salt และ
Sapphire สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของ สปป.ลาว ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีศักยภาพจะมีทรัพยากรอื่น ได้แก่ Antimony Asbestos Bismuth Cobalt Iron ore Kaolin Lead Lignite Manganese Molybdenum Potash Silica และ Tungsten แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว (clays)
ดอกไม้ประจำชาติ
“ดอกจำปา” หรือที่คนไทยเรียกว่า
“ดอกลีลาวดี” สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกหนแห่งใน
ประเทศลาว
ชาว
ลาว
นิยมนำดอกจำปา มาทำเป็นพานบายสีสู่ขวัญถวายพระ และนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อต้อนรับแขกบ้าน – แขกเมืองตามประเพณีอันดีงาม มาแต่โบราณกาล ดอกจำปาที่เป็นดอกไม้ประจำชาติของ
ลาว
จะมี 5 กลีบสีขาวปนเหลืองบานซ้อนกันอยู่ในดอกเดียว ซึ่งเปรียบเสมือนความเจริญรุ่งเรืองใบสีเขียวอ่อน เปรียบเสมือนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และธรรมชาติ จนมีคำกล่าวกันว่า
“ดอกจำปาที่สวยที่สุดจะบานอยู่ใน ประเทศลาวเท่านั้น”
ประเทศลาว
ทัวร์ลาว
ทัวร์ลาวใต้
เที่ยวลาวใต้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
น้ำตกคอนพะเพ็ง Konpapeng Waterfall
Amazing ลาวใต้ 3วัน2คืน
เมืองวังเวียง
ถ้ำกองลอ Khong Lor Cave
Powered by
MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด