สะพานมิตรภาพไทย-ลาว นครพนม-ท่าแขก คำม่วน แห่งที่3

17240 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว นครพนม-ท่าแขก คำม่วน แห่งที่3

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว นครพนม-ท่าแขก คำม่วน แห่งที่3
 

 
สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว นครพนม-ท่าแขก คำม่วน
เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย (นครพนม) กับประเทศลาว (ท่าแขก-คำม่วน) พื้นที่ฝั่งไทย ที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง และบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัดเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาว ทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน สะพานจะแล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน เมื่อสะพานแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 780 เมตร มีช่องลอดกว้าง 60 เมตร สูง 10 เมตร 2 ช่วง ความกว้างสะพาน 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ
ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.11 น
จังหวัดนครพนม และแขวงคำม่วน สปป.ลาว ได้ฤกษ์เปิดสะพาน มิตรภาพแห่งที่ 3 ซึ่งเชื่อมระหว่างจังหวัดนครพนมของไทยกับแขวงคำม่วนของสปป.ลาว โดยพิธีเปิดจะมีขึ้นกลางสะพาน ในวันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน ปี 2011 ซึ่งทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันที่จะใช้ตัวเลข 11-11-11เป็นตัวเลขแห่งความทรงจำ โดยได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธี ร่วมกับฝ่ายลาวคือ พณฯบุญยัง วอระจิต รองประธานประเทศของลาว
โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) เป็นโครงการที่รัฐบาลไทย และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีนโยบายร่วมกันที่จะส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเมืองคู่แฝด ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย-ลาว) ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ในปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงในลักษณะเมืองคู่แฝดแล้ว 2 แห่ง แห่งแรก คือ สะพานมิตรภาพ (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต) และสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-แขวงคำม่วน) ซึ่งจะเป็นเมืองคู่แฝดแห่งที่ 3 ต่อไป สำหรับสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย หรือ Asian Highway สาย AH 15 เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม เมืองท่าแขก เมืองหลักซาวของลาว ถึงเมืองวินท์ และเมืองกวางบิงของประเทศเวียดนาม โดยรัฐบาลไทยเป็นฝ่ายสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการก่อสร้างสะพาน ถนน รวมทั้ง อาคารด่านพรมแดนของทั้งสองประเทศ ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงรับผิดชอบในการก่อสร้าง วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 1,723 ล้านบาท และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอำนวยความสะดวกในการจัดหาพื้นที่ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ใน การก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการ ดูแล และบริหารโครงการก่อสร้างจนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์
โดยจุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งไทยที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และบ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลักษณะโครงการประกอบด้วย งานสะพานข้ามแม่น้ำโขง ความยาวรวมทั้งสิ้น 1,423 เมตร ความกว้าง 13 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ มีถนนเชื่อมสะพานทั้งสองฝั่งเป็นผิวจราจรคอนกรีต มีจุดเปลี่ยนทิศทางการเดินรถ ตั้งอยู่ในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีอาคารด่านควบคุมการผ่านแดนทั้งสองฝั่ง
โดยคาดว่าหลังจากเปิดใช้งาน สะพานแห่งนี้ จะเกิดประโยชน์ด้านการค้า การขนส่ง มากกว่าสะพานแห่งที่อื่น เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของเส้นทางการคมนาคม ขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงจากไทย-ลาว-เวียดนาม-และภาคใต้ประเทศจีน. เป็นระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากพรมแดนไทยไปยังเวียดนามและจีน ซึ่งจะสามารถเปิดเส้นทางการค้าออกท่าเรือน้ำลึกที่เมืองวุ๋งอาง ของเวียดนาม ตลอดจนการขนส่งสิ้นค้าจากจีนที่เมืองหนานหนิงมายังประเทศไทยได้ชั่วเวลา เพียงข้ามคืนเท่านั้น 
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้