จังหวัดลำพูน ภาคเหนือ

7481 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จังหวัดลำพูน ภาคเหนือ

จังหวัดลำพูน


 
{ลำพูน|จังหวัดลำพูน} {จังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ} เดิมมีชื่อว่า {"นครหริภุญไชย}" สร้างเมื่อ พ.ศ.1200 โดยฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญมาสร้างระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงเมื่อสร้างเสร็จได้เชิญพระธิดาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงละโว้พระนาม{ว่า"จามเทวี"}มาปกครองเมือง มีกษัตริย์ครองเมืองสืบต่อมาหลายราชวงศ์ จนมาถึงสมัยกรุง ธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการขับไล่พม่าจนสำเร็จได้ไปครองเมืองเชียงใหม่ และให้เจ้าคำฝั้นน้องชายครองเมืองลำพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เป็นเจ้าผู้ครองนคร และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร
 
{จังหวัดลำพูนมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 4 สาย คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำกวง แม่น้ำทาและแม่น้ำลี้ แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอแม่ทา อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านธิ และกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง}
 
{อาณาเขต|ละแวก|เขต|บริเวณ|แถว|ขอบเขต|อาณาบริเวณ|เขตแดน|แถบ|ถิ่น|ย่าน|แนว|พรมแดน|ชายแดน|แนวพรมแดน|แนวชายแดน|ดินแดน}
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อำเภอสามเงา จังหวัดตาก 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบและอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
 
{การเดินทาง|การสัญจร}
รถยนต์ ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านดอนเมือง รังสิต แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 32 ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท เข้าจังหวัดนครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 11 เข้าจังหวัดลำพูน รวมระยะทาง 670 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง
 
รถไฟ รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจังหวัดลำพูนทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223-7020 สถานีรถไฟลำพูน โทร. 0 5351 1016 www.railway.co.th
 
{รถโดยสารประจำทาง|รถประจำทาง|รถโดยสาร|รถยนต์โดยสารประจำทาง|รถเมล์} บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศบริการทุกวันจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีบริการรถปรับอากาศวีไอพีของบริษัท อินทราทัวร์ (ย่านประตูน้ำ) โทร. 0 2208-0840, 0 2208-0580 สาขาลำพูน โทร. 0 5351 1292 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0 2936 0852-66 สถานีเดินรถ (ลำพูน) โทร. 0 5351 1173 หรือ www.transport.co.th
 
{เครื่องบิน|เรือบิน|อากาศนาวา} บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดลำพูน ต้องบินไปเชียงใหม่ แล้วต่อรถมาลำพูนอีกทอดหนึ่ง รายละเอียดสอบถามได้ที่ การบินไทย โทร. 1566, 0 2280-0060, 0 2628-2000 www.thaiairways.com รถประจำทางสายเชียงใหม่-ลำพูน ออกทุกวันตั้งแต่ 05.00-20.30 น. บริการรับส่งทุก 10 นาที จะออกจากสถานีขนส่งช้างเผือกปลายทางสถานีขนส่งหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที
 
ระยะทางจากจังหวัดลำพูนไปจังหวัดใกล้เคียง
เชียงใหม่ 21 กิโลเมตร
ลำปาง 71 กิโลเมตร
ตาก 244 กิโลเมตร
 
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอป่าซาง 11 กิโลเมตร
อำเภอแม่ทา 25 กิโลเมตร
อำเภอบ้านธิ 26 กิโลเมตร
อำเภอบ้านโฮ่ง 40 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง 45 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งหัวช้าง 105 กิโลเมตร
อำเภอลี้ 105 กิโลเมตร
 
 
 
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนคร หริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ตั้งอยู่ถนนอินทยงยศเยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2470 โดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2517 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อ พ.ศ. 2522 ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุแบ่งเป็น 3 ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่ เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น 3 สมัย คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ได้แก่ พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวดาเป็นต้น ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียวมีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคารหลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือตีเหล็ก เครื่องมือทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พานดอกไม้เชี่ยนหมาก เป็นต้น ห้องศิลาจารึก เป็นห้องโถงเปิดโล่ง อยู่ชั้นล่างของตัวอาคาร จัดแสดงศิลาจารึก สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 และศิลาจารึก สมัยล้านนา อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา เปิดทำการเวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดวันจันทร์ อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 5351 1186 โทรสาร 0 5353 0536
 
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น. ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม 20 บาท ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า "วิหารหลวง" เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์ พระบรมธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ เจดีย์ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสัตถบัญชร (ระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม หอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญเดือน 6 จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระบรมธาตุทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.1440 พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ.1986 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ การสร้างคราวนี้ได้สร้างโครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับลังกา ปทุมวดีเจดีย์ หรือพระสุวรรณเจดีย์ ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ภายหลังจากสร้างพระบรมธาตุเสร็จได้ 4 ปี พระสุวรรณเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปรางค์ 4 เหลี่ยม ฝีมือช่างละโว้ มีพระพุทธรูปประจำซุ้ม ฝีมือแบบขอมปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานล่างเป็นกรุบรรจุพระเครื่อง
 
อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี ตั้งอยู่ที่บริเวณดอยติ ริมถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์ตรงทางเข้าสู่เมืองลำพูน เดิมนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญไชยอย่างมั่นคง
 
วัดมหาวัน ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร เลียบไปตามคูเมืองเก่า มีตำนานการสร้างวัดกล่าวว่า วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อคือ พระรอดมหาวัน
 
วัดจามเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1298 เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ. 1298 เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า "กู่กุด" หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ" นอกจากนั้นยังมี รัตนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40 เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร องค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์
 
วัดพระยืน ตั้งอยู่ที่บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง ข้ามลำน้ำกวง ไปตามทางหลวงหมายเลข 114 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1029 ประมาณ 500 เมตร วัดพระยืนมีชื่อเดิมว่า วัดพฤทธมหา-สถาน ซึ่งพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญชัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1606-1611 พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย
 
กู่ช้าง-กู่ม้า เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว ซอยโรงเรียนจักรคำคณาทร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร กู่ช้างเป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อ "ภูก่ำงาเขียว" ซึ่งหมายถึงช้างผิวสีคล้ำงาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม ส่วนกู่ม้า เป็นสถูปทรงระฆัง เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี
 
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่เชิงดอยติ บริเวณวัดดอยติ ตำบลป่าสัก ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง พระครูบาศรีวิชัยเป็นพระเถรเจ้า นักพัฒนาแห่งล้านนาไทย ผู้พัฒนาทั้งด้านจิตใจและด้านถาวรวัตถุให้แก่ชาวล้านนาไว้อย่างอเนกอนันต์ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2421-2481 ถิ่นฐานบ้านเดิมของท่านอยู่ที่บ้านแม่ตื่น อำเภอลี้ จึงเป็นความภูมิใจอย่างใหญ่หลวงของชาวลำพูน ที่เมืองนี้เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา
 
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ อยู่ในตำบลมะเขือแจ้ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวเข้าทางหลวงสายสาย 1147 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่หลังนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นภูเขาไฟโบราณ รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี บนยอดมีปล่องกว้าง 3 เมตร ลึกประมาณ 6 เมตร ตอนล่างเป็นบ่อ มีน้ำตลอดปี การเดินขึ้นไปบ่อน้ำบนยอดเขาต้องขึ้นบันไดไป 1,749 ขั้น ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงตัก เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระราชทาน แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง
 
บ้านหนองช้างคืน เป็นแหล่งผลิตลำไยใหญ่ที่สุด อยู่ก่อนถึงเมืองลำพูน 8 กิโลเมตร โดยจะผ่านบ้านป่าเหวมีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาเข้าบ้านหนองช้างคืน ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง ตรงเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้าน ตลอดสองฝั่งทางที่ลดเลี้ยวเข้าไปในหมู่บ้านจะเนืองแน่นไปด้วยสวนลำไย ในราวเดือนสิงหาคมของทุกปี จะมีงานเทศกาลลำไยลำพูน จัดขึ้นในอำเภอเมือง ในงานนี้จะมีการประกวดรถประเภทสวยงามที่ประดับตกแต่งด้วยลำไย การประกวดผลิตผลลำไยและธิดาลำไย
 
หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายเวียงยอง อยู่บริเวณบ้านศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอง เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ
 
วัดศรีดอนชัย ตั้งอยู่บ้านสันมะนะ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านธิ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ระหว่างกิโลเมตรที่ 76-77 เข้าไป 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูง 59 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่สูงและใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 และพระองค์ทรงพระราชทานนามว่า "พระพุทธเฉลิมสิริราช"
 
วัดพระธาตุดอยเวียง ตั้งอยู่บ้านดอยเวียง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านธิ ห่างจากอำเภอบ้านธิประมาณ 7 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ และบนดอยเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์เก่าแก่ซึ่งมีพระสารีริกธาตุบรรจุอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1220 ในสมัยพระนางจามเทวี ตามตำนานจารึกในใบลานเล่าว่าขุนหลวงปาละวิจา มาตั้งเมืองที่นี่ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและได้สร้างวัดไว้บนดอย ต่อมาถูกไฟป่าไหม้ลุกลาม ทำให้เหลือแต่เจดีย์และศาลาเล็ก ๆ หลังหนึ่ง วัดนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีก 3 องค์ องค์แรกเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งฝนแล้ง ชาวบ้านเดือดร้อนเลยนำพระองค์นี้มาแห่ขอฝน ปรากฏว่า ฝนตก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าสายฝน" องค์ที่สองหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว ประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญ องค์ที่สามหน้าตักกว้าง 89 นิ้วประดิษฐานที่เชิงดอย ทั้งสององค์ข้างในเป็นศิลาแลงและข้างนอกฉาบปูน สมัยที่ค้นพบนั้นเหลือไม่เต็มองค์เศียรปักดินชาวบ้านจึงเรียกว่า "พระเจ้าดำดิน" ชั้นบนสุดของดอยเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ธาตุดอยเวียง และทุก ๆ ปีในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ
 
พระธาตุดอยห้างบาตร ตั้งอยู่บ้านไซใต้ ห่างจากอำเภอบ้านธิประมาณ 9 กิโลเมตร เมื่อถึงหมู่บ้านไซใต้ จะเห็นพระธาตุดอยห้างบาตรอยู่ทางขวามือ เป็นเจดีย์ทรงจัตุรมุขสีขาว มีฉัตรทองอยู่ยอดเจดีย์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อไร ตามตำนานเล่าว่าสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังดอยลูกนี้และเตรียมเสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ซึ่งการเตรียมบาตรภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ห้างบาตร" ปรากฏร่องรอยห้างบาตรอยู่เป็นหลุมลึกลงไปหินดินดานและมีมณฑปครอบไว้ พระธาตุแห่งนี้อยู่บนยอดดอยที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกล
 
หมู่บ้านแกะสลักอำเภอแม่ทา เดินทางไปตามถนนสายแม่ทา-ท่าจักร ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณบ้านหนองยางไคล ตำบลทุ่งทาหลวง และบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นแหล่งผลิตไม้แกะสลักเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปคน รูปสัตว์ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับบ้าน ของเล่นเด็ก เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนส่งไปขายยังจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง
 
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 159,556 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยทางรถไฟลงที่สถานีขุนตาล เดินเท้าอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ สำหรับทางรถยนต์เดินทางไปตามเส้นทางลำปาง-ลำพูน (ทางหลวงหมายเลข 11) กิโลเมตรที่ 47 เข้าไปประมาณ 18 กิโลเมตร
 
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีบ้านพักและเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์ไปเองทางอุทยานฯ ได้จัดบริเวณสำหรับกางเต็นท์ไว้ให้ ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 5734, 0 2579 7223 หรืออุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล โทร.0 5351 9216-7 นอกจากนี้ยังมีบ้านพักของการรถไฟแห่งประเทศไทย ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2225 6964 และบ้านพักมิชชันนารี ของมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5324 1255
 
แหล่งทอผ้าบ้านหนองเงือก ตั้งอยู่บ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 บริเวณกิโลเมตรที่ 138-139 แล้วเลี้ยวเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร บ้านหนองเงือกเป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายทอมือ และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองที่ทำจากผ้าฝ้าย เช่น ปลอกหมอน ม่าน ผ้าปูโต๊ะ เสื้อผ้า ราคาไม่แพง และยังผลิตส่งไปจำหน่ายยังแหล่งขายของที่ระลึกต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
 
วัดหนองเงือก ตั้งอยู่บ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง ไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน-ลี้) กิโลเมตรที่ 138-139 แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่แสดงให้เห็นศิลปกรรม ฝีมือช่างพื้นบ้าน สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ ศิลปะปูนปั้นที่ซุ้มประตูของวัด และหอไตร ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นตึกโบราณ 2 ชั้น ชั้นล่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
 
หอศิลป อุทยานธรรมะ ตั้งอยู่ที่ 109/2 หมู่ 1 บ้านป่าซางน้อย สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 และเข้าซอยข้างตลาดป่าซางไป 500 เมตร อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ เป็นสวนร่มรื่น มีอาคารใช้สำหรับจัดแสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับธรรมะและพระพุทธศาสนา รอบ ๆ อาคารมีแบบจำลองประติมากรรม มุมแสดงเสียงพิเศษ ตั้งขึ้นโดยคุณอินสนธ์ วงค์สาม ศิลปินแห่งชาติสาขาประติมากรรม ปี พ. ศ. 2542 ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปะและธรรมะ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 1600 น. สำหรับวันจันทร์-ศุกร์ ต้องโทรศัพท์นัดหมายล่วงหน้าที่ โทร. 0 5352 1609
 
วัดป่าเหียง ตั้งอยู่บ้านกองงาม ตำบลแม่แรง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1032 (ข้างวัดป่าซางงาม) ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ตามประวัติวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 มีหอไตรอายุกว่าร้อยปี สร้างไว้กลางสระ เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หน้าบันและบานประตูแกะสลักอย่างสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้ว
 
วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ตำบลมะกอก เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 136-137 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นบันไดทางขึ้นวัดอย่างชัดเจน วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน ตามตำนานการสร้างวัดเล่าว่า พระพุทธองค์พร้อมด้วยสาวกได้เสด็จจาริกสั่งสอนไปตามที่ต่าง ๆ จนถึงที่แห่งนี้ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากกับหน้าผาหิน ซึ่งปัจจุบันก็ยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายจีวรของพระอยู่จนทุกวันนี้ จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนลานผาลาดซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และบนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้ เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือนแปดเหนือ ซึ่งตรงกับวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีการสรงน้ำพระพุทธบาทเป็นประเพณีทุกปี
 
ถ้ำเอราวัณ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลนครเจดีย์ บริเวณที่ทำการย่อยสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 124 มีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าถนนลาดยาง 4 กิโลเมตร และลูกรังอีก 7 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการย่อยของสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว ลักษณะปากถ้ำจะมีขนาดเล็กลาดต่ำจนถึงปากคูหาถ้ำ เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าไปจะพบห้องโล่งกว้างแสงแดดเข้าไม่ถึงบางแห่งของห้องโถงใหญ่แบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ กระจายอยู่ซึ่งแต่ละห้องจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม การเดินทางเข้าไปในถ้ำควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง และควรนำไฟฉายติดตัวไปด้วยเพราะภายในถ้ำไม่มีไฟฟ้า
 
วัดพระเจ้าตนหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลศรีเตี้ย สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 108 และเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 1010 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตรก็จะถึงตัววัด วัดนี้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงเมาลี 9.5 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1909 โดยพระเถระสิริราชวโส เพื่อหลีกเคราะห์กรรม และภัยพิบัติ จึงมีฉายานามว่า " พระเจ้าหลีกเคราะห์" อีกชื่อหนึ่ง
 
หมู่บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน-ลี้) ระหว่างกิโลเมตรที่ 107-108 เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ยังคงประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมไว้คือการทอผ้าแบบดั้งเดิมโดยใช้เอวเป็นกี่ในการทอ
 
ถ้ำหลวงผาเวียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ช่วงบ้านโฮ่ง - ลี้) จะมีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 2.8 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่มีความสวยงามภายในถ้ำแบ่งออกเป็น 8 ห้อง เช่น ลานรมณีย์ เป็นห้องกว้างมีแสงสว่างจากปากถ้ำส่องถึง อัคนีโขดเขิน เป็นห้องที่มีร่องรอยการพังทะลายของหินงอกหินย้อย และเนินไศลงามตา เป็นเนินดินสลับกับก้อนหินตั้ง เป็นต้น ค่าเข้าชมถ้ำคนละ 10 บาท ภายในถ้ำจะติดไฟฟ้าไว้บริการ
 
{วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน-ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 113 เลี้ยวเข้าทางบ้านโฮ่งหลวงประมาณ 4 กิโลเมตร วัดนี้เป็นวัดที่สวยงาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าสะเลียมหวาน ซึ่งแกะสลักจากไม้สะเดา เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วไป}
 
วัดบ้านปาง ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้านปาง หมู่ที่ 1 ตำบลศรีวิชัย ห่างจากตัวอำเภอลี้ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลี้-บ้านโฮ่ง-เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 89 เป็นวัดซึ่งครู บาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกภายในบริเวณวัดนอกจากจะร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโบสถ์วิหารสวยงาม และยังมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ สบง จีวร หมอน กระโถน และแจกัน เป็นต้น
 
วัดพระธาตุห้าดวง (เวียงเจดีย์ห้าหลัง) ตั้งอยู่ที่ตำบลลี้ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง ปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ (น้ำไคลมือ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้ และในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง
 
วัดพระบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลี้ เป็นวัดประจำหมู่บ้านชาวเขาพระบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลนาทราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 106 บริเวณกิโลเมตรที่ 46-47 เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณทางเข้ามีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่ วัดพระบาทห้วยต้มมีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภายในมีสิ่งก่อสร้างทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงด้านหลังของวัด และมีองค์พระธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม โดยครูบาชัยวงศา พระอาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือเป็นผู้บูรณะก่อสร้างและจากศรัทธาของบรรดาชาวกะเหรี่ยงที่อยู่รอบบริเวณวัด ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้นอกจากจะทำไร่ทำสวนแล้ว ยังมีอาชีพเป็นช่างฝีมือ ทอผ้า ทำสร้อยคอ และเครื่องเงินเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน และทุกปีประมาณเดือนธันวาคมชาวกะเหรี่ยงจะจัดงานชุมนุมชาวกะเหรี่ยงและสืบสานวัฒนธรรม มีกิจกรรมน่าสนใจ อาทิ การแสดงทางวัฒนธรรมชาวดอย การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และออกร้านจำหน่ายสินค้าฝีมือชาวกะเหรี่ยง บริเวณบ้านพระบาทห้วยต้ม
 
{อุทยานแห่งชาติแม่ปิง} สามารถเดินทางไปตามหลวงหมายเลข 106 (สายลำพูน-ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 47 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1087 (สายลี้ -ก้อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 20 - 21 ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่หาด-แม่ก้อ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ 1,003 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิงตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำ ปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย การเดินทางท่องเที่ยวลำน้ำปิงสามารถเริ่มจากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เรือหางยาว แล้วมาต่อแพที่แก่งสร้อย ล่องมาจนถึงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในทางกลับกันอาจจะเช่าเรือหรือแพจากเขื่อนภูมิพลล่องขึ้นไปก็ได้ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีสถานที่กางเต็นท์และเรือนแพไว้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตู้ ปณ.18 อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 51110 หรือส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน โทร. 0 2561-4292 ต่อ 724-725 โทรสาร 0 2579-1154
 
แหล่งข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้