วัดเชียงทอง หลวงพระบาง

10745 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วัดเชียงทอง หลวงพระบาง

วัดเชียงทอง หลวงพระบาง


 
วัดเชียงทอง    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ริมน้ำโขงคั่นอยู่ {วัดเชียงทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2102 –2103} สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมดต้องยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด และได้รับการมาเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด "นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว" วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศลาว
 
• พระอุโบสถโบสถ์. อุโบสถ  ภาษาลาวเรียกว่า สิม เป็นพระอุโบสถ หลังไม่ใหญ่โตมากนักหลังคาพระอุโบสถมีหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น กล่าวกันว่านี่คือศิลปะแห่งหลวงพระบาง ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองชาวลาวเรียกว่าช่อฟ้า ประกอบด้วย 17 ช่อเป็นข้อสังเกตุว่าวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง จะมีช่อฟ้า 17 ช่อ {ส่วนคนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้า 1- 7 ช่อเท่านั้น} เชื่อว่า{บริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆตรงกลางช่อฟ้าจะมีของมีค่าบรรจุอยู่} ส่วนที่ประดับที่ยอดหน้าบันชาวลาวเรียกว่าโหง่ มีรูปร่างเป็นเศียรนาคและมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ {ประตูพระอุโบสถแกะสลักสวยงามเช่นเดียว}กับหน้าต่างภายในพระอุโบสถมีภาพสวยงามที่ผนัง {มีลักษณะลวดลายปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ} ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติเรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
 
• {พระประธาน} {หรือชาวลาวเรียกว่าพระองค์หลวง} ภายในพระอุโบสถเป็นสีทองงดงามอร่ามตาด้านข้างพระองค์หลวงมีพระบางจำลอง และผนังด้านหลังของพระอุโบสถเป็นภาพที่เกิดจากการใช้กระจกสีตัด ติดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีในเมืองหลวงพระบางลักษณะคล้ายต้นโพธิ์ ด้านข้างต้นทองเป็นรูปสัตว์ในวรรคดียามใดที่แสงแดดสดส่องสะท้อนดูงดงาม
 
• {วิหารน้อย} ด้านข้างและด้านหลังของพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของวิหารสองหลังนี้ จุดเด่นของวิหารนี้คือผนังด้านนอกมีการตกแต่งด้วยกระจกสี ตัดเป็นชิ้นเล็กๆและนำมาต่อเป็นรูปต่างๆเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน บนพื้นสีชมพู ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปนี้เคยถูกนำไปจักแสดงที่กรุงปารีส ในปี {พ.ศ. 2474 และนำไปประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์}หลายสิบปี ก่อนจะนำมายังหลวงพระบางในปี พ.ศ.2507
 
• {ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วง}วันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี {ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพู}ประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล
 
• ด้านหลังของวิหารพระม่านจะเป็นพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโขงเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง ส่วนด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งหอกลองมีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม
 
• {โรงเมี้ยนโกศ} หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกได้เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้
 
{กลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งราชรถไม้}แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศสามองค์ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ของเจ้าสว่างศรีวัฒนา ด้านหลังเป็นของพระราชมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นของพระเจ้าอา {โรงเก็บราชรถนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์} และใช้ช่างชาวหลวงพระบางชื่อ เพียตัน นับว่าเป็นช่างฝีมือดีประจำพระองค์ {มีความชำนาญทั้งด้านงานเขียนและงานแกะสลัก}
 
• {จุดเด่นของโรงเมี้ยนโกศยังอยู่ที่ประตูด้านนอกคือเป็นภาพแกะสลักวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนสำคัญๆ เช่น ตอนพิเภกกำลังบอกความลับที่ซ่อหัวใจของทศกัณฑ์ให้กับพระราม ถัดลงมาเป็นตอนที่ทศกัณฑ์ต้องศรของพระรามเสียบเข้าที่หัวใจ ถัดลงมาเป็นตอนที่พระรามพระลักษณ์ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ด้านล่างสุดเป็นตอนที่นางสีดาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์กับพระราม เดิมที่ภาพแกะสลักเหล่านี้เป็นการลงรักปิดทอง ต่อมาได้มีการบูรณะใหม่โดยทาสีทอง ภายในวัดยังมีเขตสังฆาวาสและยังมีพระจำพรรษาอยู่เช่นวัดทั่วไป}
 
 สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง

  

  n

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้